Domain Name (โดเมน) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
Sub Domain คืออะไร?
Sub Domain ( ซับโดเมน ) คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain (โดเมน) ชื่อ www.gict.co.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.gict.co.th แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ
ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
1.ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2.Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
3.ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
4.ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
5.ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-Mail
6.บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
1.ชื่อ Domain สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
2.ชื่อ Domain โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
3.ชื่อ Domain มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
4.ชื่อ Domain ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
5.ชื่อ Domain ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space
หลักการตั้งชื่อโดเมนภาษาไทย
1.ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถาน ที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
2.ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
3.ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะ ต่าง ๆ ในประเทศ
4.ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
5.ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้
การจดทะเบียนโดเมนเนม
การจดทะเบียนโดเมนเนม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศ
การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .จดโดเมน .co.th, .or.th, .ac.th, in.th เช่นนามสกุล ".CO.TH" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน
ที่มา : http://domain-name.gict.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น